วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

กรุงศรีอยุธยา

     
        อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ  เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน 
                                                                                          ที่มา:www.wikipedia.com

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

Don Omar - Danza Kuduro ft. Lucenzo

เพลงบางระจัน

ประวัติชาวบ้านบางระจัน

ประวัติชาวบ้านบางระจัน « เมื่อ: 14 ธันวาคม 2551, 15:54:26 » ประวัติชาวบ้านบางระจัน ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า ".เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......" ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย ดังนี้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหินและดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น สมัยทวาราวดี พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้ง ถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติ และที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอย กำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด และดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯแหล่งโบราณคดีบ้านคีม ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาด กว้าง 5 เมตร สมัยสุโขทัย มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฎเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระมหารามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองชั้นในหน้าด่าน รายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี จึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็น เมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไป สืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกัน ก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฎในพระราช พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2110 หลังจากสมเด็จพระ-นเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพสิมถูกกองทัพ กรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้า เชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2308 สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกัน ต่อสู้กับพม่า ที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฎชื่อ คือ 1. พระอาจารย์ธรรมโชติ 2. นายแท่น 3. นายโชติ 4. นายอิน 5. นายเมือง 6. นายทองแก้ว 7. นายดอก 8. นายจันหนวดเขี้ยว 9. นายทองแสงใหญ่ 10. นายทองเหม็น 11. ขุนสรรค์ 12. พันเรือง โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 สมัยกรุงธนบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออก และคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานที่ปรากฎคือ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (รัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอสิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้ อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กองทัพพม่าได้ออกลาดตะเวนปล้นสะดม ข่มแห่งชาวไทย ฉุดคร่าอนาจาร เผาบ้านเรือนทำให้ชาวเมืองสิงห์บุรีโกรธแค้น ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกต่อสู้กับทหารพม่าจนเกิดเป็นค่ายบางระจันขึ้น มีนายแท่น นายเมือง นายโชติ นายอิน นายดอก นายแก้ว ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ เป็นหัวหน้าค่ายบางระจัน พวกชาวบ้านบางระจันได้สู้รบกับพม่าถึงแปดครั้ง ครั้งสุดท้ายพม่าใช้ปืนใหญ่ยิงถล่ม ชาวบางระจันได้ขอปืนใหญ่ไปทางกรุงศรีอยุธยา แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ให้ ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันหล่อปืนใหญ่ใช้เอง แต่ด้วยความไม่ชำนาญ ปืนใหญ่จึงร้าวและใช้การไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านเสียขวัญและกำลังใจ ทว่าชาวบ้านบางระจันก็ยังคงต่อสู้กับพม่าอย่างไม่คิดชีวิต ในที่สุดค่ายบางระจันก็ถูกทำลายลงเมื่อวันจันทร์เดือน 8 แรม 2 ค่ำ พ.ศ.2309 รวมเวลาที่รบกับพม่านานถึงห้าเดือน แม้ค่ายบางระจันจะถูกกองทัพพม่าทำลายอย่างย่อยยับ แต่ภาพของบรรดาผู้กล้าไม่ว่าจะเป็นพระยารัตนาธิเบศร์ ขุนสรรค์พันเรือง ฯลฯ รวมทั้งชาวบ้านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ล้วนสู้ตาย ไม่ยอมถอยเพื่อรักษาบ้านเมืองของตน เป็นวีรกรรมของชุมชนที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย http://www.abhakara.com/webboard/index.php?PHPSESSID=bfd96375452d8953b72a5d82d1fe7951&topic=1017.msg3224#msg3224

ประวัติจังหวัดสุโขทัย

ประวัติจังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ ๗๐๐ ปีที่แล้ว คำว่า "สุโขทัย" มาจากสองคำ คือ "สุข+อุทัย" หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" รอยอดีตแห่งความรุ่งเรือง เห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ ประวัติสุโขทัยเริ่ม พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระยาศรีนาวนัมถมพระบิดาพ่อขุนผาเมืองได้ปกครองเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลญลำพงข้าหลวงจากราชอาณาจักรขอมได้เข้ายึดครองเมือง ขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองจ้าวเมืองราดได้ยึดเมืองคืน และสร้างเมืองสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี มีขุนบางกลางหาวพระนามใหม่ว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัย อาณาจักรแห่งแรกของประเทศไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้แผ่อาณาจักรออกไปกว้างขวางคลุมเขตประเทศไทยเกือบหมด บ้านเมืองเจริญทุกด้าน ไม่ว่าด้านประวัติศาตร์ ยุทธศาสตร์ กฏหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี เฉพาะอย่างยิ่งทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ อักษรไทยที่ทรงประดิษฐ์นี้ได้จารึกไว้ในแผ่นศิลามากมาย ศิลาจารึกเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญให้รู้เรื่องเมืองสุโขทัยมากขึ้น ในศิลาจารึกบอกถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่ามีอาณาเขตกว้างมาก ทิศเหนือจรดเมืองแพร่ น่านและหลวงพระบาง ทิศใต้จรดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจรดเมืองเวียงจันทร์ และทิศตะวันตกจรดเมืองหงสวดี การปกครองบ้านเมืองเป็นระบบ "พ่อปกครองลูก" ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีมีสิทธิเสรีภาพดั่งคำจารึกว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใสในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า" สมัยนั้นชาวสุโขทัย ทำเกษตรกรรมเป็นหลัก อาศัยน้ำที่มีอยู่บริบูรณ์ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้งเรียกว่า "ทำนบพระร่วง" ซึ่งนักโบราณคดีได้ศึกษาพบถึง ๗ แห่ง สุโขทัยเป็นศูนย์กลางค้าและการผลิตเครื่องถ้วยชามที่เรียกว่า "สังคโลก" ส่งขายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนิเซีย และบอร์เนียว นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์การค้าสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชามและผ้าไหม เพื่อขายในประเทศและส่งต่อต่างประเทศด้วย หลักฐานที่สะท้อนให้เห็นความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสุโขทัย ได้แก่ สมบัติทางวัฒนธรรมที่ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและมรดกโลกในปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ กรุงศรีอยุธยา มีอำนาจมากขึ้นและเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจแทนสุโขทัย แต่สุโขทัยก็ยังมีพระมหากษัตริย์ปกครองกันติดต่อมาอีก ๒ พระองค์ จึงสิ้นพระราชวงศ์สุโขทัยและได้รวมเข้ากับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่เมืองพม่าครั้งที่ ๒ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นที่บ้านธานี(ท่าหนี) ริมแม่น้ำยมซึ่งก็คือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๕ ได้ยุบอำเภอธานี ตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นกับจังหวัดสวรรคโลก จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ยกอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นเป็น จังหวัดสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา สุโขทัยในปัจจุบัน ตัวเมืองในปัจจุบันนี้มิใช่กรุงสุโขทัยอันเป็นราชธานีเดิมแต่เป็นเมืองสุโขทัย ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีทรงย้ายผู้คนทั้งหมดจากสุโขทัย ตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำยมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ โดยห่างจากตัวเมืองสุโขทัยที่เคยเป็นราชธานี ๑๒ กิโลเมตร พระราชดำริในครั้งนั้นมีอยู่ว่า เมืองสุโขทัยเป็นเมืองใหม่ไม่มีผู้คนพอจะต่อสู้รักษาให้พ้นจากการรุกรานจากพม่าข้าศึกได้ เมืองสุโขทัยเคยถูกยุบเป็นอำเภอมีชื่อว่า "อำเภอธานี" ขึ้นอยู่กับอำเภอสวรรคโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางการจึงได้ยกฐานะเป็นจังหวัดดังปรากฏอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของราชอาณาจักรไทย สิ่งสำคัญที่จะต้องระลึก ก็คือมหาราชพระองค์แรกของไทย ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ สุโขทัยแห่งนี้พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกับได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล และเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดในช่วงเวลานั้น จากร่องรอยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ชีให้เห็นว่า ศิลปวัฒนธรรมของความเป็นไทยได้เริ่มต้น ณ แห่งนี้ วิทยาการความรู้ความสามารถ และเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีภาษาและหนังสือของตนเองได้บ่งบอกถึงอารยธรรมอันสูงส่งของคนไทยได้เริ่มขึ้นและวิวัฒนาการเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานไทยได้สืบทอดต่อกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ สุโขทัยจึงเป็นดินแดนแห่งความทรงจำ เป็นดินแดนแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติที่จะลืมเลือนเสียมิได้เป็นอันขาด สุโขทัยเป็นดินแดนแห่งความทรงจำถึงอดีตกาลแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยในความสำคัญที่ * เป็นราชธานีแห่งแรกของไทยและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด * เป็นดินแดนของมหาราชองค์แรกของไทย * กษัตริย์พระองค์แรกทรงผนวชในบวรพุทธศาสนา * เป็นจุดกำเนิดลายสือไทย และวรรณคดีเล่มแรกของไทย "ไตรภูมิพระร่วง" * เป็นแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมชิ้นแรก "ชามสังคโลก" http://www.sukhothai.go.th/history/hist_10.htm

bom bom

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้อง

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ต พวกเราได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากมัน เช่น ได้เล่นเกมออนไลน์ , ได้ chat กับคนแปลกหน้า , ได้ดูรูปโป๊แบบไม่จำกัด ,ได้หาแฟนใหม่ทางเน็ตวันละ 10 คน ฯลฯ แต่มีผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านเตือนว่า การหมกมุ่นอยู่กับเน็ต ระวังอันตรายร้อยแปด ทั้งเสียการเรียน ทั้งเสียคน บางทีอาจจะถึงกับได้พบอันตรายที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย ที่จริง ก็น่าเห็นใจน้อง ๆ นะ ... เพราะเรียนหนังสือเครียดจะตายไป เลิกเรียนแล้ว ก็น่าจะได้มีโอกาสผ่อนคลายความเครียดกันบ้าง คนจะหาความสุขจากเน็ตสักหน่อย ยังมาห้ามอีก อะไรทำนองนั้น ทีนี้ตามหลักพุทธศาสนาท่านว่า ความสุขมีสองแบบ คือ แบบ เสพบริโภค (กามฉันทะ ) กับ แบบสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ ) ความสุขแบบเสพบริโภคนั้น เป็นความสุขมีคุณน้อย มีโทษมาก ทำให้หลงเพลิดเพลินไม่เป็นอันทำการงาน มีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง เบียดเบียนกัน ร้อนรน กระวน กระวาย ไม่คุ้มค่ากับความสุขเพียงนิด ที่ต้องแลกกับความทุกข์ที่ตามมาเป็นพรวน ๆ อย่ากระนั้นเลย budpage ขอลองเสนอวิธีหาความสุขอย่างสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ) จากเน็ตสัก 5 วิธี มาแนะนำกัน แบบว่าให้ได้ทั้งสนุก และ ได้รับสาระไปด้วย ดังต่อไปนี้ 1."ชื่นชมความงามธรรมชาติบนเน็ต" เปิดเวบค้นหาภาพธรรมชาติ จำพวก ต้นไม้ ภูเขา วิวสวย ๆ ดวงจันทร์ หรือ ดอกไม้ ฯลฯ พอได้พบภาพที่ถูกใจ ให้คุณมองภาพนั้นด้วยความชื่นชมพร้อมทั้งกล่าวพรรณาความงามออกมา อาจจะเป็นคำพูดดี ๆ หรือ แต่งเป็นกลอน หรือแต่งเป็นเพลง ก็ได้ หากคุณลองทำดูแล้วคุณรู้สึกว่าจิตใจของคุณมีความแช่มชื่นเบิกบาน จนอยากออกไปพบเห็นธรรมชาติจริง ๆ ข้างนอก ละก้อ...แสดงว่าคุณได้ เข้าถึงความงามของธรรมชาติบ้างแล้ว 2. "พรรณาความงามของงานศิลปะ" อันนี้ก็คล้าย ๆ กัน ให้ search ค้นหาภาพงานศิลปะต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต คัดเลือกภาพที่ถูกใจสักภาพ แล้วให้คุณ พรรณาความงามของงานศิลปะชิ้นนั้น โดยสมมุติตัวเองว่าเป็นศิลปินกำลังบรรยาย ให้ผู้ชมฟัง พรรณาเข้าไปเถอะ หรือจะใช้วิธีพิมพ์บรรยายลงในคอมพ์ก็ได้ ทำอย่างนี้สักประเดี๋ยวจิตใจของคุณก็จะเกิดความปีติสุข เพราะได้เข้าถึงความงามของศิลปะ 3.มีความสุขกับการเป็น"พหูสูต " "พหูสูต" แปลง่าย ๆ ว่า"ผู้รอบรู้" คือ ไม่ว่าจะพบเห็นอะไร ก็จะมองเห็นเป็นความรู้ไปหมด สามารถ อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง นิสัย"พหูสูต" นี่สามารถสร้างขึ้นมาได้ หากฝึกฝนเป็นประจำ ยิ่งสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตยิ่งง่ายใหญ่ วิธีง่าย ๆ เริ่มต้นด้วย ทุก ๆ วัน ก่อนจะเปิดเน็ตให้ลองเหลียวมองสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ แล้วตั้งคำถามกับตัวเอง "วันนี้เราอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร" เมื่อเราได้พบสิ่งที่น่าสนใจแล้ว ก็ให้ค้นในอินเทอร์เน็ตว่าเราได้รับความรู้อะไรจากสิ่งนั้นบ้าง ยกตัวอย่าง เหลียวไปเหลียวมารอบ ๆ ตัว ก็พบว่าวันนี้ เราอยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ "ปากกาลูกลื่น"ที่วางอยู่บนโต๊ะ เราก็พิมพ์ คำว่า"ปากกาลูกลื่น" หรือ ball-point pen ลงในเวบไซต์ประเภท search engine ( เช่น google.com ,siamguru.com ฯลฯ) จากนั้นก็ให้คัดเลือกหาอ่านเรื่องราวที่มีความรู้เกี่ยวกับ"ปากกาลูกลื่น" เก็บเกี่ยวสาระให้ได้มากที่สุด จนเราสามารถคุยเรื่องปากกาลูกลื่นได้เป็นชั่วโมง ๆ (แววพหูสูตเริ่มปรากฏ) วันต่อ ๆ มาก็ให้มองหาสิ่งอื่น รอบๆ ตัวเพื่อค้นหาความรู้อีก ลองตั้งเป้าไว้เลยว่า จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านให้หมดทุกอย่าง หากใครทำได้ ถือว่าได้เป็นผู้รอบรู้คนหนึ่งในบ้านเลยทีเดียว 4. สารานุกรมภาพ มาสะสม"ภาพความรู้"กันดีกว่า (รับรอง สนุกว่าสะสมรูปโป๊ ) กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ท้าทายมาก เพราะมีคนฉลาดๆเท่านั้นเองที่สามารถทำได้ วิธีการง่าย ๆ ก็คือให้ท่องเว็บไปเรื่อย ๆ ทีนี้เกิดไปเจอภาพอะไรที่เขามีคำอธิบายเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ เราก็ลองอ่านดู ถ้าเรื่องราวน่าสนใจ อ่านแล้วเราเข้าใจ ประทับใจ ก็ให้ save ภาพนั้นเก็บไว้ในอัลบั้มภาพในเครื่องคอมพ์ของตนเอง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเรามีคลังภาพแห่งความรู้เก็บไว้มากมาย ( ทุกภาพก่อน save เราจะต้องอ่านเนื้อหาคำอธิบายจนเข้าใจภาพนั้นได้ดีก่อน ไม่ใช่ เก็บแต่ภาพแต่ไม่ยอมเก็บความรู้) ยกตัวอย่าง เปิดเวบไปเห็นภาพ"เหตุการณ์ 14 ตุลา" เราก็อ่านเรื่องราวบรรยายภาพนั้นจนเข้าใจ ว่าได้เกิดอะไรขึ้นในปี พ.ศ. 2516 จากนั้นให้save ภาพนั้นเก็บเอาไว้ หรือ ไปพบภาพ "super nova" (ดาวระเบิด) เราก็อ่านจนเข้าใจเนื้อหาสาระของภาพ แล้วก็เก็บภาพไว้ ทีนี้เวลาได้ภาพเก็บไว้ในอัลบั้มมากพอเพียงแล้ว เวลาว่าง ๆ ให้คุณลองจัดแสดงภาพแบบสไลด์โชว์ บรรยายให้เพื่อนฝูงฟัง รับรองว่าคุณจะกลายเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถให้ความรู้และความสนุกสนานกับเพื่อน ๆ จนบรรดาเพื่อน ๆ จะต้องทึ่งในตัวคุณเป็นอย่างมากเลยทีเดียว 5. "เก็บคำคม" ในเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตมีคำคม ๆ สำนวนดี ๆ มากมาย อ่าน ๆ แล้ว ให้เลือกสรรคำที่โดนใจ เอามาสะสมไว้ในไดอารี่ของเรา จะได้เก็บไว้อ่านประเทืองปัญญา จริงอยู่ในเว็บบอร์ดส่วนใหญ่อาจจะมีคำพูดที่ไม่เหมาะสมมากมาย เช่น คำหยาบ คำส่อเสียด ด่าว่า กระทบกระเทียบ แต่ในคำพูดเหล่านี้บางครั้งก็มีสาระสอดแทรกอยู่ เราสามารถเลือกสรรสิ่งที่ดีๆ คือ เลือกเฟ้นสิ่งที่ เป็นเนื้อหาสาระออกมา ( คุ้ยหาเพชรจากกองขยะ ) คุณทราบหรือไม่ว่าคำพูดของคนบางคน (แม้แต่คำพูดของคนที่สติไม่ดี ) บางครั้งจะให้แง่คิดดี ๆ ที่ช่วยปรับปรุงชีวิตของเราให้พัฒนาขึ้นมาได้ ลองดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่าการสะสมข้อความดี ๆ มีสาระ มีความสนุกสนาน และมีคุณค่า ไม่น้อยกว่าการสะสมพระเครื่อง หรือ ตุ๊กตาโมเดลราคาแพง ๆ เสียอีก http://blog.eduzones.com/jirapan/34219

การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำงานตามชุดคำสั่งอย่างอัตโนมัติและให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ รวมเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 5 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หน่วยแสดงผล (Output Unit) กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ เริ่มด้วยเมื่อมีการกดปุ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือชุึดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำหลัก จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมที่จะทำงาน เมื่อตรวจสอบเสร็จคอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทำงาน ก็จะมีการป้อนคำสั่งหรือโปรแกรมหรือข้อมูลโดยผ่านหน่วยรับข้อมูล แล้วนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก ต่อจากนั้น หน่วยประมวลผลกลางก็จะทำการตามคำสั่งของโปรแกรมซึ่งเรียกว่า การประมวลผล แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้เก็บไว้ที่ หน่วยความจำ และจะแสดงผลลัพธ์ผ่านหน่วยแสดงผลเมื่อมีคำสั่งให้แสดงผลลัพธ์ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่ Mouse Keyboard Joy Sticks Track Ball Touch Screen Scanner Digital Camera Light Pen POS (Point of Sale Terminal) OMR (Optical Mark Reader) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลาง คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำ หน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น - การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร - การกระทำทางตรรกะ (AND , OR) - การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้ - การเลื่อนข้อมูล (Shift) - การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement) - การตรวจสอบบิท (Test Bit) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่ - ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง - เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร - ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ - เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก - อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม 2. แรม (RAM : Random Access Memory) - ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล - ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย - ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย - ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง เพื่อใช้ในการประมวลผล - เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง - สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย - การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่ จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ฮาร์ดิสก์ จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป จานแสง (Optical Disk) เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยแสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ แสดงผลทางบนจอภาพ การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น 640 * 480 จุด , 800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ การแสดงผลทางจอภาพ หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer http://www.punyisa.com/unit2/unit2_3-1.htm

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียบปลั๊กไฟทุกเส้นที่ต่อมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะต่อหม้อแปลงที่เครื่องและต่อจากจอภาพให้เสียบปลั๊กเต้าเสียบให้เรียบร้อย เปิดสวิตซ์สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง (ปุ่ม Power) ที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะพบว่ามีไฟสีเหลืองติดท่เครื่องคอมพิวเตอร์และที่แป้นพิมพ์ เปิดสวิตซ์จอภาพ หรือบางที่อาจจะติดพ่วงกับจอคอมพิวเตอร์ จะพบตัวอักษรเกิดขึ้นบนจอภาพ ขั้นตอนการใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว การจับแผ่นดิสก์ควรจับบริเวณที่ติดฉลาก ให้ด้านที่มีฉลากหงายขึ้น ดังรูป ใส่แผ่นดิสก์เข้าไปในช่อง Disk Drive A: การนำแผ่นดิสก์ออก ในระหว่างการทำงานจะมีไฟติดอยู่ อย่าเพิ่งนำแผ่นดิสก์ออก ให้กดที่ปุ่มที่ใส่ดิสก์ แผ่นดิสก์จะออกมา ขั้นตอนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้โปรแกรมมี 2 วิธี การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม DOS มีดังนี้ นำแผ่นโปรแกรม DOS มาใส่ใน Drive A: กดปุ่ม Power เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์สักครู่จะปรากฏคำว่า Current Date is Wed 01-01+2000 Enter new date (mm-dd-yy): ให้ตรวจสอบ เดือน/วัน/ปี ปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตรงแล้วให้กด Enter ต่อจากนั้นจะปรากฏข้อความ Current time 12:12:12a Enter new time: ให้ตรวจสอบเวลาปัจจุบันว่าตรงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้แก้ไข ถ้าตงให้กด Enter การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดย Hard Disk โดยการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยกดปุ่ม Power จะมีการเข้าสู่โปรแกรมหรือเข้าสู่โปรแกรมของรายการเมนูหลักของโปรแกรม ให้เลือกโปรแกรมที่ต้องการ ในโปรแกรม Windows 95 จะเข้าสู่หน้าต่าง Windows 95 แล้วเลือก Start เลือกโปรแกรมที่ต้องการต่อไป วิธีปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ 1. ต้องมีการปิดแฟ้มการทำงานและออกจากโปรแกรมใช้งานก่อนเสมอ การปิดเครื่องระบบปฏิบัติการ Windows 95 มีขั้นตอนดังนี้ เลือกที่ปุ่ม Start เลือก Shut Down จะพบเมนูให้เลือก เลือก Shut Down the Computer เลือก Yes จนกว่าจะปรากฏข้อความว่า "It now safe to turn off your computer" จึงจะปิดเครื่อง Computer ได้ 2. ปิดสวิตซ์จอภาพก่อน 3. ปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ 4. ดึงปลั๊กสายไฟออกจากเต้า 5. ควรมีการปัดฝุ่นบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์ 6. ให้ใช้ผ้าคลุมเครื่องเพื่อป้องกันฝุ่นละออง http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_12.htm

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพลงที่ชอบ

สมุนไพรพื้นบ้าน


กลุ่มยารักษาเบาหวาน
กระแตไต่ไม้
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Drynaria quercifolia  (L.J.Sm.
วงศ์ :   POLYPODIACEAE
ชื่ออื่น  กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง 10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม. รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก
ส่วนที่ใช้  
ส่วนหัว
สรรพคุณ :
  • ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้
    -
     ปรุงเป็นยาต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการและกระปริกระปรอย
    ขับระดูขาว
    - แก้เบาหวาน
    - แก้ไตพิการ
    - เป็นยาคุมธาตุ
    - เป็นยาเบื่อพยาธิ
  • ใบ - ตำพอกแผล แก้แผลเรื้อรังและแผลพุพอง
วิธีใช้ ใช้ส่วนหัวของกระแตไต่ไม้ ต้มรับประทาน

สมุนไพรพื้นบ้าน


กลุ่มยาแก้ปวดฟัน
กานพลู
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง :  Caryophyllus aromatica  L. ; Eugenia aromatica  (L.) Baill; E.Caryophylla(Spreng.) Bullock et Harrison;  E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ :   Clove Tree
วงศ์ :   Myrtaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
          กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร

ส่วนที่ใช้ :  เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น  -  แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ 
  • ใบ -  แก้ปวดมวน
  • ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
    ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
  • ผล -  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
    ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
    ในผู้ใหญ่  - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
    ในเด็ก -  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
    เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
  • ยาแก้ปวดฟัน
    ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
    หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
  • ระงับกลิ่นปาก
    ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol